Hits: 7299
ล้างมือ 7 ขั้นตอน เพื่อป้องกันโรคที่มากับอาหาร กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
Hits: 1092
ล้างผักก่อนรับประทาน ลดสารเคมีปนเปื้อนในอาหาร
Hits: 4224
GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
“สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หรือ “Geographical Indication - GI”
คือ การใช้ชื่อสถานที่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศสมาชิกประกอบกับสินค้า เพื่อแสดงให้ผู้ซื้อหรือ
ผู้บริโภคได้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่าคุณภาพ ชื่อเสียง หรือลักษณะอื่นของสินค้า มีส่วนสำคัญมาจากแหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์
ของสินค้านั้น
GI จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยตรงซึ่งจะเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้านั้นๆ โดยตรง เช่น ไชยา เพชรบูรณ์ เป็นต้น
(2) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์โดยอ้อม เป็นสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่ไม่ใช่ชื่อทางภูมิศาสตร์ ใช้เพื่อบ่งบอกแหล่งภูมิศาสตร์อันเป็นแหล่งกำเนิดหรือแหล่งผลิตของสินค้า เช่น สัญลักษณ์ประจำจังหวัดประจำอำเภอ รูปย่าโม รูปหอไอเฟล เป็นต้น
นอกจากนี้ GI ยังมีความแตกต่างจากทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น เนื่องจากผู้ที่เป็นเจ้าของไม่ใช่บุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่เป็นกลุ่มชุมชนผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์นั้นๆ ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะเป็นผู้ที่มีสิทธิในการผลิตสินค้าดังกล่าวนั้นได้ ผู้ผลิตอื่นที่อยู่นอกเหนือแหล่งภูมิศาสตร์นั้นไม่สามารถผลิตสินค้านั้นได้
ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ ( Kaowong Kalasin Sticky rice ) ซึ่งเป็นข้าวเหนียวคุณภาพดี หอมนุ่มเป็นที่ต้องการของตลาด ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI แล้ว เพื่อให้ผู้บิโภคได้มั่นใจในสินค้าว่าได้ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพดี
Hits: 3392
อาหารปลอดภัยกาฬสินธุ์ KS
ตราสัญลักษณ์อาหารปลอดภัย (KS Kalasin Food Safety) เพื่อรับรองความปลอดภัยอาหารที่ผลิตในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อการจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดใกล้เคียง และตลาดในกลุ่มประเทศอาเซียนในอนาคต ซึ่งตราสัญลักษณ์ดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ระดับ 4 ประเภท ได้แก่ ระดับอาหารอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วย อาหารประเภทพืช อาหารประเภทสัตว์ และระดับอาหารปลอดสารพิษ ซึ่งประกอบด้วย อาหารประเภทพืช อาหารประเภทสัตว์ โดยกระบวนการออกเลขที่หนังสือรับรอง ดำเนินการโดยคณะกรรมการอาหารปลอดภัยจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดตามมาตรฐานทางวิชาการ
การออกตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองอาหารปลอดภัย KS ของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นไปตามนโยบายกำหนดจุดยุทธศาสตร์ของเขตจังหวัด ร้อยแก่นสารสินธุ์ ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และ กาฬสินธุ์ ภายใต้วิสัยทัศน์ “กาฬสินธุ์เป็นเมืองอาหารปลอดภัย ก้าวไกลสู่ครัวโลก” อันเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดกาฬสินธุ์
Hits: 1614
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท.
Organic Agriculture Certification Thailand (ACT)
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ มกท. เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยคณะอนุกรรมการมาตรฐาน ของ มกท. ตามแนวทางมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานของสหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ(International Federation of Organic Agriculture Movements หรือ IFOAM) ปัจจุบัน มกท. มีมาตรฐานครอบคลุมในเรื่องการผลิตพืชอินทรีย์ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ การเก็บผลิตผลจากธรรมชาติ การผลิตปัจจัยการผลิตเพื่อการค้าการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอินทรีย์ รายการอาหารอินทรีย์ การเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงผึ้ง
เกษตรอินทรีย์ หมายรวมถึง เกษตรธรรมชาติ และเกษตรนิเวศ ด้วยมีหลักการและความมุ่งหมายที่สำคัญดังนี้
พัฒนาระบบการผลิตไปสู่แนวทางเกษตรผสมผสานที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์
พัฒนาระบบการผลิตที่พึ่งพาตนเองในเรื่องของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารภายในฟาร์ม
ฟื้นฟูและรักษาความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติโดยใช้ทรัพยากรในฟาร์มมาหมุนเวียนใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รักษาความสมดุลของระบบนิเวศในฟาร์มและและความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวม
ป้องกันและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติที่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
สนับสนุนระบบการผลิตและกระบวนการจัดการทุกขั้นตอน ที่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
ยึดหลักการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปที่เป็นวิธีการธรรมชาติ ประหยัดพลังงาน และส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
Page 1 of 2